วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


ประเพณีไทยภาคใต้
ประเพณีไทย ประเพณีชิงเปรต จ.นครศรีธรรมราช
ประเพณีชิงเปรต เป็นประเพณีไทยของภาคใต้ที่กระทำกันในวันสารท เดือน ๑๐ เป็นประเพณีไทยสำคัญที่จัดขึ้นเพื่อทำบุญอุทิศแก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว
พระยาอนุมานราชธนได้ให้ ความหมายของประเพณีชิงเปรต ไว้ในสารานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานว่า การชิงเปรตที่ปฏิบัติกันในประเพณีสารทเดือน ๑๐ นี้ มีลักษณะคล้ายกับการทิ้งกระจาดของจีน แต่การทิ้งกระจาดของจีนมีเป้าหมายตรงกับการตั้งเปรต-ชิงเปรตเพียงบางส่วนเท่านั้น กล่าวคือการทิ้งกระจาดของจีนเป็นการทิ้งทานให้แก่พวกผีไม่มีญาติ ส่วนการชิงเปรตของไทยเป็นการอุทิศส่วนกุศลไปให้ทั้งผี(เปรต) ที่เป็นญาติพี่น้องของตนเอง และที่ไม่มีญาติด้วย นอกจากนี้วิธีการปฏิบัติในการทิ้งกระจาดและการชิงเปรตก็แตกต่างกันด้วย
ประเพณีชิงเปรตวันสารท เป็นประเพณีไทยที่ดำรงอยู่บนความเชื่อของการนับถือผีบรรพบุรุษที่ว่า บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว หากยังมีบาปอยู่จะกลายเป็นเปรตในนรก ปีหนึ่งจะถูกปล่อยให้มาเมืองมนุษย์ 15 วัน โดยมาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งถือว่าเป็นวัน " รับเปรต" หรือวันสารทเล็ก ลูกหลานต้องเตรียมขนมมาเลี้ยงดูให้อิ่มหมีพีมัน และฝากกลับไปเมืองเปรต ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 นั้น คือวันส่งเปรต กลับคืนเมืองเรียกกันว่าวันสารทใหญ่ต้องทำขนม คาวหวาน ขนมนมเนยครบถ้วน ยิ่งกว่าวันรับเปรตไปวัด โดยตั้งเปรตนอกวัด ให้พระท่านส่งเปรตกลับเมือง ลูกหลานจะจุดธูปเทียน ระลึกถึงเปรต พร้อมกับหมายตาไว้ว่าใครอยากได้อะไรจากวงตั้งเปรต ทันทีที่บรรดาผู้ใหญ่ลุกขึ้น เด็ก ๆ ก็จะเข้าแย่งชิงอาหาร หรือเงินที่วางไว้เป็นที่สนุกสนาน เรียกว่า " ชิงเปรต" เชื่อกันว่าใครได้กินอาหารเดนเปรตจะได้กุศลมาก ผู้เฒ่าผู้แก่หลายคนได้ยืนยันว่าการชิงเปรตไม่เป็นความอัปมงคลแก่ผู้ชิงเปรตแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามกลับถือว่าเป็นการทำบุญด้วยซ้ำไป เพราะชื่อว่าบุตรหลานของเปรตตนใดชิงได้ เปรตตนนั้นย่อมได้รับส่วนนั้น เพียงแต่ว่าผู้ชิงต้องระมัดระวังในการที่อาหารหรือขนมที่ตั้งเปรตอาจตกหลานลงพื้น ซึ่งจะทำให้เกิดความสกปรกและเป็นอันตรายต่อสุขภาพเท่านั้น




ประเพณีชิงเปรตทำบุญวันสารท เดือน ๑๐ กำหนดทำ ๒ ครั้ง คือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ และวันแรม ๑๕ ค่ำเดือน ๑๐ โดยเชื่อว่า วันแรม ๑ ค่ำ เป็นวันที่ยมบาลปล่อยให้เปรต หรือเปตชนขึ้นมาเยี่ยมลูกหลาน ๆ ก็จะทำบุญเลี้ยงต้อนรับ เมื่อถึงวันแรม ๑๕ ค่ำ ก็ถือว่าเป็นวันที่ปู่ย่าตายาย ต้องกลับยมโลก ลูกหลานก็ทำบุญเลี้ยงส่งอีกครั้งหนึ่ง

ประเพณีชิงเปรต จ.นครศรีธรรมราช เป็นประเพณีไทยที่ถือปฏิบัติกันมาแต่โบราณ เป็นประเพณีไทยสำคัญที่กระทำกันจนทุกวันนี้ แม้จะไปทำมาหากินในท้องถิ่นอื่น เมื่อถึงเดือน ๑๐ ก็มักจะกลับมาร่วมพิธีกับญาติทางบ้าน นับเป็นการช่วยเสริมการผูกพันระหว่างครอบครัวและญาติพี่น้อง ทั้งยังเป็นการระลึกถึงบุญคุณ และคุณงามความดีของบรรพบุรุษของตน แม้จะล่วงลับไปแล้วก็ตาม

ประเพณีไทยภาคอีสาน
ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง จังหวัดนครพนม
การแห่ปราสาทผึ้ง  เป็นประเพณีโบราณอีสาน มุ่งทำเป็นพุทธบูชา หรือเกี่ยวข้อง กับความเชื่อทางศาสนา คำว่า "ปราสาทผึ้ง" ในภาษาอีสานจะออกเสียง "ผาสาทเผิ่ง"

ความเชื่อเรื่องการแห่ปราสาทผึ้ง  เกี่ยวเนื่องกับพิธีกรรมทางพุทธศาสนา โดยเริ่ม พิธีกรรมนี้ ในภาคอีสาน ตั้งแต่เมื่อใดนั้นไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ในตำนาน เรื่องหนองหาน (สกลนคร) กล่าวไว้ว่า ในสมัยขอมเรืองอำนาจ และครองเมืองหนองหานในแผ่นดินพระเจ้าสุวรรณภิงคาราช  ได้โปรดให้ ข้าราชบริพารทำต้นผึ้งหรือปราสาทผึ้งในวันออกพรรษา เพื่อห่คบงันที่วัดเชิงชุม (วัดมหาธาตุเชิงชุมวรวิหาร) จากนั้นเมืองหนองหานได้จัดวันปราสาทผึ้ง ติดต่อกันมาทุกปี
ความสาคัญของประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง การแห่งปราสาทผึ้ง เป็นประเพณีโบราณอีสาน มุ่งทาเป็นพุทธบูชา หรือเกี่ยวข้อง กับความเชื่อทางศาสนา คาว่า "ปราสาทผึ้ง" ในภาษาอีสานจะออกเสียง "ผาสาทเผิ่ง"งานแห่ปราสาทผึ้งในเทศกาลออกพรรษาของชาวอีสาน ช่วงเวลา เทศกาลวันออกพรรษา วันขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๑๑ แม้ว่าจะมีอยู่ทั่วไปในหลายจังหวัด แต่ก็ไม่จัดใหญ่โตและปฏิบัติต่อเนื่องเช่นของเมืองสกลนคร ชาวสกลนครมีการฉลองเทศกาลออกพรรษาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งแตกต่างจากจังหวัดอื่น ๆ ด้วยการสร้าง “ ปราสาทผึ้ง ” ถวายเป็นพุทธบูชาโดยยึดคติความเชื่ออยู่ 2 กระแส คือที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของสิ่งมีชีวิต ดังนั้นเวลาผู้คนและเป็นของสูง หากเป็นที่ประทับของ พระราชาก็เรียกว่า พระราชวัง ถ้าเป็นที่อยู่ของเศรษฐีก็เรียกว่า คฤหาสน์ ส่วนสถานที่จาพรรษาของพระภิกษุสามเณรนิยมเรียกว่า กุฏิ สาหรับที่อยู่ของคนธรรมดาสามัญพากันเรียกว่า "บ้าน"ส่วนความเชื่ออีกกระแสหนึ่ง สืบเนื่องมาจากครั้งพุทธกาลได้มีพระภิกษุชาวโกสัมพีเกิดทะเลาะวิวาทกัน ระหว่างพระธรรมธรฝ่ายหนึ่งกับพระวินัยธรอีกฝ่ายหนึ่ง แม้พระพุทธองค์ทรงตักเตือนสักเท่าใดก็ไม่ฟัง จึงเสด็จหนีความราคาญเหล่านั้นไปพักอยู่ที่ป่ารักขิตวัน ซึ่งที่ป่านั้นมีพญาช้างและพญาวานรคอยเป็นอุปัฏฐากพระพุทธองค์ โดยพญาช้างมีหน้าที่ตักน้า ส่วนพญาวานรเป็นผู้หาผลไม้มาถวายเป็นประจาตลอดพรรษา อยู่มาวันหนึ่งพญาวานรได้ไปพบรวงผึ้งบนต้นไม้เข้า จึง เก็บมาถวายแด่พระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธองค์ทรงรับรวงผึ้งนั้นแล้วทาให้พญาวานรดีใจมาก ถึงกับกระโดดโลดแล่นไปบนต้นไม้กระโจน ไปมาบนคาคบ เกิดพลาดพลัดตกลงมาถึงแก่ความตาย ด้วยอานิสงส์จากการได้ถวายรวงผึ้งแด่พระพุทธเจ้า ทาให้พญาวานรได้ไปเกิด เป็นพรหมบนสวรรค์ด้วยความเชื่อทั้งสองกระแสจึงเป็นที่มาของประเพณีปราสาทผึ้ง

อย่างไรก็ดีในสาระของความต้องการบุญกุศลส่วนตัวดังกล่าวมาแล้วยังมีสาระที่ต้องการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้วายชนม์ ซึ่งอาจได้มา จากคติของชาวจีนที่ทามาหากินในสกลนคร ที่ทาการตักเป็นรูปทรงบ้านเรือนอาคารเผาอุทิศให้ผู้ตาย แต่หากดัดแปลงเป็นการสร้าง อาคารเป็นทรงหอผี ประดับด้วยดอกผึ้งถวายพระสงฆ์อุทิศให้ผู้วายชนม์การทาปราสาทผึ้งส่วนมากในอีสานนิยมทากันมาแต่โบราณ ด้วยเหตุผลหรือคติที่ว่า 1. เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว 2. เพื่อตั้งความปรารถนาไว้หากเกิดในภพมนุษย์ขอให้มีปราสาทราชมณเฑียรอาศัยอยู่ด้วยความมั่งมีศรีสุข ถ้าเกิดในสวรรค์ขอ ให้ม มีปราสาทอันสวยงาม มีนางฟ้าแวดล้อมเป็นบริวารจานวนมาก 3. เพื่อรวมพลังสามัคคีทาบุญร่วมกัน พบประ สนทนากันฉันท์พี่น้อง 4. เพื่อเป็นการประกาศหลักศีลธรรม ทางบุญทาง กุศลให้ปรากฏโดยชาวคุ้มวัดต่าง ๆ ร่วมข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน บริจาคเงิน ตามศรัทธาพร้อมกัน ทาปราสาทผึ้ง กาหนดเอาวันเทศกาลออกพรรษาเป็นวันจัดงาน วันแรกแข่ง เรือ วันที่สองแห่ปราสาทผึ้ง วันที่ สามทาบุญออกพรรษา กลางคืนมีการสมโภชตามสมควร



ประเพณีปอยข้าวสังฆ์ ประเพณีไทยล้านนา
ภาษาล้านนา คำว่า “ปอย” หมายถึง งานบุญประเพณี ที่มีผู้คนมาชุมนุมกันเป็นจำนวนมาก ส่วนคำว่า “ข้าวสังฆ์”  หมายถึง เครื่องอุปโภคบริโภคสำหรับถวายพระสงฆ์ เพื่ออุทิศส่วนกุศลแด่ผู้วายชนม์ ในที่นี้จะหมายเอาเฉพาะผู้วายชนม์ที่สิ้นชีวิตผิดปกติวิสัยหรือที่เรียก “ตายโหง”ชาวล้านนาเชื่อว่า การตายโหง เป็นการตายที่ผู้ตายไม่ได้เตรียมตัวหรือรู้ตัวมาก่อน ชีวิตหลังการตายจะเป็นอยู่ด้วยความลำบาก ผนวกกับธรรมเนียมประเพณีโบราณนิยมที่ต้องนำศพไปฝังทันที ไม่มีการทำบุญอุทิศเหมือนกับการตายโดยปกติ
ประเพณีปอยข้าวสังฆ์ เป็นงานบุญประเพณีไทยล้านนาเพื่ออุทิศส่วนกุศลไปหาผู้ตายซึ่งตายด้วยอุบัติเหตุต่าง ๆ รวมทั้งตายทั้งกลม หรือตายเนื่องจากการคลอดบุตร ทั้งนี้เพราะเชื่อว่าคนที่"ตายโหง"นั้นวิญญาณไม่มีความสุข ผู้ที่ยังอยู่เช่นสามีหรือภรรยาและลูกหลานพี่น้องมักก็เชิญวิญญาณเข้าสิงขอนกระด้างหรือคนทรงที่มีอาชีพทางนี้โดยเฉพาะเพื่อ ไต่ถามชีวิตความเป็นอยู่หลังจากที่เสียชีวิตแล้ว และถามความต้องการหรือเมื่อทราบว่าต้องการสิ่งใดก็จะจัดส่งไปให้โดยวิธีการจัดถวายทาน ทั้งนี้ไม่จำเป็นว่าจะต้องทำบุญอุทิศไปให้ตรงกับวันตายก็ได้ แต่มักนิยมครบรอบปีตายมากกว่า ปอยเข้าสังฆ์จะจัด ที่บ้าน เพราะคนตายสมัยก่อนจะรีบ นำไปฝัง ไม่นิยมเผาเหมือนในปัจจุบัน และในขณะที่ตั้งศพบำเพ็ญกุศลนั้นไม่มีพิธีทำบุญอุทิศถวายทานให้ผู้ตาย  

นอกจากพิธีสวด หรือแสดงพระธรรมเทศนา จะจัดพิธีทานทีหลังเมื่อเจ้าภาพพร้อม ถ้าเทียบกับภาคกลางก็เช่นเดียวกับพิธีทำบุญร้อยวันให้ผู้ตายนั่นเอง    การจัดปอยเข้าสังฆ์  เจ้าภาพจัดเตรียมเครื่องปัจจัยไทยทานตามกุศลเจตนา และความเชื่อ ซึ่งนิยมทำเป็นบ้านจำลอง มีเครื่องใช้ครบถ้วน ทั้งที่นอนหมอนมุ้งถ้วยชามเสื้อผ้ารองเท้าแว่นหวีและมีเครื่องบริโภคคือข้าวน้ำและอาหารตลอดจนหมากเมี่ยงพลูบุหรี่ต่าง ๆ โดยครบถ้วน โดยเฉพาะหญิงที่ตายทั้งกลมหรือตายเพราะการคลอดหรือหลังคลอดนั้น ถือว่าหญิงนั้นมีกรรมหนัก จะทำเรือสำเภาขนาดประมาณ ๕ เมตร กว้าง ๒ เมตรพร้อมทั้งพายและอุปกรณ์จับปลาต่าง ๆ ใส่ลงในเรือนั้นด้วย โดยเชื่อว่าสำเภาจะพาไปสู่สุคติภพและขณะเดียวกันเครื่องมือจับสัตว์ก็ใช้ช่วยหากินในระหว่างเดินทางไปด้วย    

เนื่องจากเชื่อกันว่า ผู้ที่ถึงแก่กรรมโดยฉับพลันหรือ"ตายโหง"นี้จะเสวยกรรมวิบากทนทุกข์ทรมานมาก ดังนั้น การถวายทานเพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้นั้นจะต้องมีทั้งสังฆ์เครื่องดิบและสังฆ์เครื่องสุก ในชุดสังฆ์เครื่องดิบนั้น เจ้าภาพจะจัดหาของสดของคาวถวายแด่พระสงฆ์ที่บริเวณทางไขว่หรือบริเวณทางแยกในเวลาใกล้ค่ำ เมื่อพระสงฆ์อนุโมทนาแล้วก็ให้ขุดหลุมฝังเครื่องดิบนั้นเพื่อให้ผู้ตายได้บริโภคในแบบที่เป็นขุมทรัพย์ที่ผู้ตายจะนำไป บริโภคในสัมปรายภพ และเนื่องจากเชื่อว่าผีตายโหงมีกรรมมาก จะเข้าในวัดเพื่อรับการอุทิศส่วนกุศลก็ไม่ได้เพราะถูกผีในวัดทำร้ายเอา ดังนั้น จึงต้องนิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธีนอกเขตวัดเท่านั้น ซึ่งอาจทำพิธีที่บ้านของเจ้าภาพหรือนอกกำแพงวัดโดยอาจทำผามคือปะรำหรือตั้งเก้าอี้หรืออาสนะสงฆ์เพื่อถวายทั้งสังฆ์ดิบและสังฆ์สุก

ปัจจุบัน การทำบุญประเพณีปอยข้าวสังฆ์ยังเป็นที่นิยมกันอยู่ หากแต่ไม่เฉพาะคนตายโหงเท่านั้น ตายลักษณะไหนก็สามารถทำบุญอุทิศในลักษณะอย่างปอยข้างสังฆ์ได้ ชาวล้านนาจึงดำรงไว้ซึ่งประเพณีไทยล้านนาปอยข้าวสังฆ์ดังกล่าวและปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน



งานพระนครคีรี เมืองเพชรเป็นงานประเพณีไทยภาคกลางของจังหวัดเพชรบุรี ที่จัดติดต่อกันมาเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะในส่วนของการประดับไฟบนพระนครคีรี พร้อมทั้งจุดพลุเทิดพระเกียรติทุกค่ำคืน นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ และชมลีลาวดีล้านดอกบานสะพรั่งทั่วเขาวัง ปีละครั้ง พร้อมรับชมขบวนแห่พิธีเปิดอย่างยิ่งใหญ่ตระการตา จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวทุกท่านเดินทางมาเที่ยวชมงานในปีนี้



จังหวัดเพชรบุรี มีความรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยโบราณ จังหวัดเพชรบุรีเปรียบเสมือนประตูสู่ภาคใต้ เป็นแหล่งรวมงานช่างชั้นครูของประเทศหลายแขนง ดังปรากฏในงานด้านศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม ซึ่งจะพบเห็นได้ตามแหล่งโบราณสถาน พระราชวังและพระอารามต่างๆ จังหวัดเพชรบุรีจึงเป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวครบถ้วนสมบูรณ์ซึ่งล้วนมีความงดงาม ตลอดผู้คนในจังหวัดเพชรบุรี ที่มีวิถีการดำเนินชีวิตที่น่าสนใจที่เป็นเอกลักษณ์ รวมถึงความศรัทธายึดมั่นในพระพุทธศาสนาคนเมืองเพชร เพื่อเป็นการส่งเสริมและรณรงค์ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเกิดความสนใจเดินทางมาท่องเที่ยวภายในจังหวัดเพชรบุรี และเพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว รวมถึงกิจกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น

งานพระนครคีรี เมืองเพชร จัดขึ้นบริเวณพิพิธภัณฑสถานแหงชาติพระนครคีรี หรือ เขาวัง จ.เพชรบุรี มีกิจกรรมต่างๆ มากมาย ประกอบด้วยการแสดงศิลปวัฒนธรรม สกุลช่างเมืองเพชร การประกวดตกแต่งโคมไฟและโคมกระดาษสี การแข่งขันกอล์ฟพระนครคีรี การออกร้านกาชาด เช่น การสาธิตช่างฝีมือ และภูมิปัญญาท้องถิ่น การละเล่น และวิถีชีวิตชาวบ้าน การประดับไฟและการจุดพลุเฉลิมฉลองทุกคืน ขบวนแห่และนิทรรศการเทิดพระเกียรติฯ สำหรับกิจกรรมบนเขาวังประกอบด้วยการแสดงศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีเมืองเพชร ได้แก่ การสาธิตงานสกุลช่างเมืองเพชร การสาธิตทำอาหาร-ขนมพื้นบ้าน การสาธิตเคียวน้ำตาลโตนด-ขนมจาก การสาธิตศิลปประดิษฐ์ และเครื่องหอม การแสดงนิทรรศการ การละเล่นพื้นบ้านวิถีชีวิตไทย การแสดงดนตรีไทย งานเทศน์มหาชาติ และเวียนเทียนรอบพระธาตุจอมเพชร พร้อมกันนี้ ยังได้จัดอาสาสมัครนำชมพระนครคีรี ไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยวเพื่อเป็นการสร้างความประทับใจที่มีโอกาสเดินทางมาเยี่ยมชมงาน



หน้าที่ของวัฒนธรรมที่สําคัญมีดังนี้คือ
1. เป็นตัวกําหนดรูปแบบของสถาบัน มนุษย์สามารถแก้ปัญหาต่างๆ โดยอาศัยการก่อตั้งสถาบันต่างๆ ขึ้นมา สถาบันต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้มนุษย์จัดระเบียบพฤติกรรมของตนเอง และการแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม โดยมีวัฒนธรรมเป็นตัวกําหนดรูปแบบของสถาบัน ตัวอย่างเช่น รูปแบบของครอบครัวของสถาบันครอบครัว เป็นต้น

2. เป็นตัวกําหนดบทบาทความสัมพันธ์หรือพฤติกรรมของมนุษย์ ทั้งนี้โดยผ่านกระบวนการอบรมให้รู้ระเบียบสังคม ซึ่งกลุ่มสังคมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มครอบครัวซึ่งได้ทําหน้าที่ในการถ่ายทอดวัฒนธรรมเกี่ยวกับบทบาทตามฐานะตําแหน่งของความสัมพันธ์ทางสังคม อาทิแบบการมีครอบครัว แบบของการเลี้ยงดูบุตรหลาน และแบบของการแต่งงาน วัฒนธรรมอันเป็นตัวกําหนดแบบของความสัมพันธ์พฤติกรรมของมนุษย์นี้จะเป็นเครื่องชี้ทางและแนะแนว รวมทั้งกําหนดบทลงโทษ และให้รางวัลแก่สมาชิกด้วย

3. ทําหน้าที่ควบคุมสังคม การควบคุมทางสังคมเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับการใช้ชีวิตการแสดงออกของบุคคล และสิ่งที่จะเกิดขึ้นหากไม่ปฏิบัติหรือประพฤติตามมาตรฐานที่ตั้งเอาไว้ โดยสังคมหรือกลุ่มของคน การควบคุมทางสังคมนี้อาจอยู่ในรูปที่เป็นทางการ โดยอาศัยกฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับที่วางไว้ หรือตรากฎหมายสามารถอ้างอิงและยึดถือเป็นหลักฐานยืนยันได้ทุกเวลา และการควบคุมที่ไม่เป็นทางการ อันได้แก่ ขนบธรรมเนียมและกฎศีลธรรม เป็นต้น

4. ทําหน้าที่เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่แสดงว่า สังคมหนึ่งแตกต่างไปจากอีกสังคมหนึ่ง วัฒนธรรมเป็นสัญลักษณ์ของสังคมเช่นเดียวกันกับบุคลิกภาพของบุคคลแต่ละคนส่วนที่เป็นนามธรรมของบุคลิกภาพก็คือ ความเชื่อ ความสนใจ ทัศนคติความรู้ความสามารถความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเปรียบได้กับวัฒนธรรมแบบไม่ใช่วัตถุของสังคม ส่วนที่มองเห็นได้ของบุคลิกภาพ เช่น รูปลักษณ์ การนุ่งห่มสวมใส่เสื้อผ้า ตลอดจนท่าทางการเดิน การพูด เป็นเสมือนวัฒนธรรมประเภทวัตถุธรรมของสังคม

5. ทําให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสังคม เกิดความเป็นปึกแผ่น ความจงรักภักดีและอุทิศตนให้กับสังคม ทําให้สังคมอยู่รอด ทั้งนี้เพราะการมีลักษณะวัฒนธรรมเดียวกันของกลุ่มคนในสังคม ย่อมทําให้บุคคลเกิดความรู้สึกเป็นกลุ่มเดียวกัน มีจิตสํานึกของความเป็นเจ้าของ จึงก่อให้เกิดความรัก ความหวงแหน และพร้อมที่จะปกป้องเพื่อให้วัฒนธรรมอันเป็นส่วนร่วมของตนยังคงอยู่ตลอดไป

6. เป็นปัจจัยที่สําคัญในการสร้าง หล่อหลอม (moulding) บุคลิกภาพทางสังคมให้กับสมาชิก บุคลิกภาพเป็นผลรวมความสัมพันธ์ระหว่างร่างกาย สภาพและการแสดงออกของจิตใจ และประสบการณ์ทางวัฒนธรรม กล่าวคือ บุคลิกภาพของบุคคลส่วนหนึ่งเป็นผลเนื่องมาจากลักษณะทางชีวภาพ อันเป็นส่วนของกรรมพันธุ์ที่ได้จากยีนส์ (genes) ของบิดามารดา อีกส่วนหนึ่งเป็นผลเนื่องมาจากการอยู่ร่วมติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น เพราะทําให้บุคคลได้รับการอบรมขัดเกลาทางสังคมจากกลุ่ม และตัวแทนในการขัดเกลาที่ถ่ายทอดวัฒนธรรม สิ่งที่ถ่ายทอดก็คือแบบแผนหรือวิธีการและกฎเกณฑ์ในการดําเนินชีวิต ทําให้บุคคลมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกันไปในแต่ละสังคม

7. ทําให้สมาชิกแต่ละสังคม ตระหนักถึงความหมายและวัตถุประสงค์การมีชีวิตของตน อันเป็นความหมายของสถานการณ์และที่เกี่ยวกับทัศนคติค่านิยม และจุดหมายปลายทางการเรียนรู้ความหมายของสถานการณ์ดังเช่น การยิ้ม การหัวเราะ แสดงความหมายถึงความเป็นมิตรไมตรีต่อกัน หรือการชูกําปั้น หน้าบึ้ง แสดงความหมายในทางตรงกันข้าม คือความไม่พอใจ ไม่เป็นมิตร เหล่านี้เป็นผลของวัฒนธรรม วัฒนธรรมแต่ละอย่างมีวิธีการที่ละเอียดลออแตกต่างกัน ซึ่งช่วยอธิบายความหมายของแต่ละสถานการณ์ที่แตกต่างกันด้วยวัฒนธรรมอธิบายความหมายเกี่ยวกับทัศนคติ ค่านิยม และจุดหมายปลายทางของคน กล่าวคือ บุคคลย่อมอยู่ในภาวะที่มีแนวโน้มที่จะรู้สึกและปฏิบัติด้วยวิธีการบางอย่าง(ทัศนคติ) โดยมีวัฒนธรรมเป็นตัวแบบที่กําหนดว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ดีงาม เป็นสิ่งที่น่าปรารถนา(ค่านิยม) ซึ่งกลายมาเป็นจุดหมายหรือสิ่งที่บุคคลพึงจะบรรลุถึง และเป็นสิ่งที่เหมาะสมในการดําเนินชีวิต

8. สร้างหรือจัดแบบความประพฤติเพื่อว่าบุคคลจะได้ปฏิบัติตาม โดยไมเจําเป็นจะต้องคิดหาวิธีการประพฤติปฏิบัติโดยไม่จําเป็น ทั้งนี้โดยผ่านกระบวนการถ่ายทอดหรืออบรมให้รู้ระเบียบทางสังคมเกี่ยวกับบทบาท ความคาดหวัง บรรทัดฐานทางสังคมต่างๆ เป็นต้น



ประเพณีวันสงกรานต์ วันขึ้นปีใหม่ของไทย
ประเพณีสงกรานต์ กิจกรรมวันขึ้นปีใหม่ของไทย พอย่างเข้าเดือนเมษายนทีไร ทุกคนคงจะต้องนึกถึงวันวันหนึ่ง ซึ่งก็คือ “วันสงกรานต์” ซึ่งเป็นประเพณีไทยของคนไทยทุกภาค เอาละเรามาเริ่มทำความรู้จักกับวันสงกรานต์กันดีกว่า
สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี แต่ในปัจจุบัการเฉลิมฉลองในประเพณีสงกรานต์นั้นได้ละทิ้งความงดงามของประเพณีไทยในสมัยโบราณไปเกือบหมดสิ้น คงไว้เพียงแต่ภาพลักษณ์แห่งความสนุกสนาน

ประเพณีวันสงกรานต์ ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย จนกระทั่งมาเปลี่ยนแปลงให้เป็นวันที่ 1 มกราคม ตามหลักสากลของนานาประเทศเมื่อปี พ.ศ.2483 แต่แม้จะกำหนดวันขึ้นปีใหม่ให้ตรงตามหลักสากลแล้ว สำหรับคนไทยเองก็ยังยึดเอาวันสงกรานต์เป็นวันที่มีความสำคัญอยู่

ปฏิทินไทยในขณะนี้กำหนดให้เทศกาลสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี และเป็นวันหยุดราชการ อย่างไรก็ตาม ประกาศสงกรานต์อย่างเป็นทางการจะคำนวณตามหลักเกณฑ์ในคัมภีร์สุริยยาตร์ ซึ่งแต่โบราณมา กำหนดให้วันแรกของเทศกาล เป็นวันที่พระอาทิตย์ย้ายออกจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ เรียกว่า "วันมหาสงกรานต์" วันถัดมาเรียกว่า "วันเนา" และวันสุดท้าย เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชและเริ่มใช้กาลโยคประจำปีใหม่ เรียกว่า "วันเถลิงศก

คำว่า “สงกรานต์” มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า การก้าวขึ้น ย้ายขึ้น เคลื่อนย้าย ในที่นี้หมายถึงการเคลื่อนที่ของพระอาทิตย์จากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ ซึ่งจะตรงกับวันที่ 13 14 15 เมษายน โดย 

วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า “วันมหาสงกรานต์” หรือ “วันสังขารล่อง” ถือเป็นวันสงกรานต์ปี

วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า “วันเนา” หรือ “วันเน่า” ซึ่งแปลว่า “อยู่” หมายถึงอีก 1 วันถัดจากวันมหาสงกรานต์ เป็นวันที่ดวงอาทิตย์เข้ามาอยู่ในราศีใหม่เรียบร้อยแล้ว

วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราช เรียกว่า “วันเถลิงศก” หรือ “วันพญาวัน” ซึ่งเป็นวันสำคัญวันแรกของปีใหม่

สำหรับประเพณีไทยสงกรานต์นั้น เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า เป็นวันที่ลูกหลานจะกลับมาสรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวขอพรจากผู้ใหญ่ และแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว จึงถือเอาวันสงกรานต์เป็น ”วันครอบครัว” อีกหนึ่งวันด้วย